มทร.ศรีวิชัย จับมือ มรภ.นครศรีธรรมราช KICKOFF โชว์ผลงานวิจัย “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ประจำปี 2567 โซนภาคใต้” ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและแก้หนี้ครัวเรือน ภายใต้การหนุน อว. สอวช. และ บพท.
วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เข้าร่วมนำเสนองานภายในงาน Appropriate Technology MATCHING DAY 2024 “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ประจำปี 2567 โซนภาคใต้” ภายใต้แผนงาน RU การขยายผลวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและแก้หนี้ครัวเรือน ประจำปี 2567 โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ภายใต้การนำ ดร.สมปอง รักษาธรรม รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นเจ้าภาพการจัดงาน และ ได้รับเกียรติจาก คุณสุชาดา แทนทรัพย์ (เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในการเปิดงาน และ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ผู้บริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ผู้บริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏและเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล นายไตรรัตน์ ไชยรัตน์ รองผุ้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย ชุมชน เข้าร่วม ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ต.ท่างิ้ว จ.นครศรีธรรมราช
ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวว่า งาน Appropriate Technology MATCHING DAY 2024 “เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ประจำปี 2567 ได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้การร่วมมือกับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฎ 38 แห่ง และ เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ซึ่งเวทีนี้เป็นเวทีแรก ภาคใต้ ก่อนที่ จะขับเคลื่อนต่อไปยังภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง เพื่อถ่ายทอดและจับคู่นวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้ตรงกับโจทย์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มคนจนฐานราก เกษตรกรรายย่อย กลุ่มอาชีพ และผู้ประกอบการในพื้นที่ จัดแสดงผลงานและสร้างพื้นที่การเรียนรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างโอกาสในการพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการและสร้างการเปลี่ยนแปลง สร้างความร่วมมือกับกลไกทำงานในการพัฒนาศักยภาพ ถ่ายทอดระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีที่เหมาะสมของเครือข่าย
จากทุนการดำเนินงานของหน่วย บพท. ในปีงบประมาณ 2563-2566 ภายใต้แผนงาน ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มี เป้าหมายเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม โดยกลไกการพัฒนาพื้นที่ระดับตำบลแล้วสร้างตัวแบบการ เรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation platform) พบว่า ช่วยพัฒนาชุมชนนวัตกรรม 954 ตำบล ครอบคลุมพื้นที่ 43 จังหวัด สร้างมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากและมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 โดยทางเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง ได้ร่วมทำงานกับหน่วย บพท. มาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถสร้างผลผลิตและการใช้นวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม กลายเป็นพื้นที่ต้นแบบกระจายในพื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะในปี 2566 บพท. ได้ริเริ่มการเชื่อมโยง Demand-Supply Matching โดยพัฒนากรอบการวิจัย “เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างโอกาสทางสังคม (Appropriate Technology for Social Mobility)” ผ่านทางเครือข่าย มทร. ด้วยแนวคิดเชื่อมโยงและขยายผลนวัตกรรมพร้อมใช้/เทคโนโลยีที่เหมาะสม นำไปใช้ในการช่วยยกระดับความเป็นอยู่ให้เข้าถึงโอกาสในการ ยกระดับฐานะทางสังคม (Social Mobility) ให้หลุดพ้นจากความยากจน ภายใต้โมเดล แก้จน 19 โมเดล คลอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ลำาปาง กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด พัทลุง ปัตตานี และยะลา ในปีงบประมาณ 2567 หน่วย บพท. พัฒนาโปรแกรมการขับเคลื่อนนวัตกรรม พร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาพื้นที่ (Appropriate technology) บนความร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง และเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฎ 38 แห่ง เพื่อขยายผลต่อยอดนวัตกรรมพร้อมใช้/เทคโนโลยีที่ เหมาะสมจากงานวิจัยให้กับกลุ่มคนจนฐานราก เกษตรกรรายย่อย กลุ่มอาชีพผู้ประกอบการ ในพื้นที่ผ่านการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ Learning and Innovation Platform (LIP) ให้กับนวัตกรชุมชน ในการรับ-ปรับ-ใช้นวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป