การประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 9 (The 9th Engagement Thailand Annual Conference 2024)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยนักวิจัยเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯ เข้าร่วมงานการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 9 (The 9th Engagement Thailand Annual Conference 2024) ในธีม Driving Society Engagement Innovation toward Sustainability ซึ่งสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น

🗓ระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายน 2567

📌ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

.

โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ร่วมจัดนิทรรศการผลงาน Appropriate Technology เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท. ) กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฎ 38 แห่ง และเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง เพื่อการขยายผลขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก แก้หนี้ครัวเรือน

.

พร้อมทั้งนำทีมวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยและนวัตกรรม “ขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ” จำนวน 38 คน ที่ดำเนินงานวิจัยในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Research Areas : SRA) จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด พัทลุง ปัตตานี และยะลา ร่วมแลกเปลี่ยนการทำงานในการช่วยเหลือคนจนกลุ่มเป้าหมายในระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับจังหวัด (Practical Poverty Provincial Connext : PPPConnext) ซึ่งมีบทความรับใช้สังคม จำนวน 18 บทความ เพื่อแลกเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะอาชีพและยกระดับรายได้ชุมชนสังคม (Local Business)

ทั้งนี้งานดังกล่าวได้รับเกียรติจาก

ศาสตราจารย์ ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล นายกสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (Engagement Thailand) เป็นผู้กล่าวเปิดงานประชุม

☘️ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม

☘️รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม

รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานการประชุม

.

โดยกิจกรรมในงาน ประกอบไปด้วย

👉🏻การปาฐกถาพิเศษ (Keynote Speaker)

👉🏻เวทีการเสวนา

👉🏻การบรรยายพิเศษในหัวข้อต่างๆ และมีการนำเสนอผลงานวิจัยและรับใช้สังคมในหัวข้อ ดังนี้

✅Session 1: BCG Engagement ที่ประกอบไปด้วย Bioeconomy /Circular Economy

/Green Economy/Social Finance/Poverty & Inequality/Environment, Social & Governance

✅Session 2: Health & Well-being Engagement ประกอบไปด้วย Health Care/Well-being

✅Session 3: Culture & Art Engagement ประกอบไปด้วย Culture & Art/Soft Power/Creative Economy/Community Engagement

✅Session 4: Innovation for Society ประกอบไปด้วย Social Innovation/Social Enterprise/Creative Tourism/Climate Crisis & PM2.5

✅Session 5: Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn (RSPG)

✅Session 6: A case Study with Carnegie Classification for Community Engagement Thailand

————————————————————————

วันที่ 2 ของการประชุม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยนักวิจัยเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯ เข้าร่วมงานการประชุมและนำเสนอผลงานวิจัย ซึ่งได้แก่

💡นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบ Oral presentation

1. อาจารย์อินทร์ธัชว์ ศรีบุตต์ นำเสนอบทความ นวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับการแปรรูปตะไคร้ทั้งระบบในการยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือนยากจนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

2. นายสุริยนต์ สูงคำ นำเสนอบทความ การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสม

3. ดร.นาถอนงค์ ยอดสิงห์ นำเสนอบทความ การศึกษาการใช้เทคโนโลยีหัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยตอซังฟางข้าวต่อผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรปลูกข้าว ตำบลกู่กาสิงห์อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

4. ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ นำเสนอบทความ แนวคิดและเครื่องมือการประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับโมเดลแก้จนในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์

5. อาจารย์สุบรรณ์ ทุมมา นำเสนอบทความ การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่และแนวทางการ บริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหา ความยากจน : กรณีศึกษาการผลิตมะเขือเทศ แปลงใหญ่พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดร้อยเอ็ด

6. รศ. ดร.สุชาติ จันทรมณีย์ นำเสนอบทความ แนวคิดและหลักการเกณฑ์การประเมินระดับเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการจัดงานวิจัยพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิติศักดิ์ ชุมทอง นำเสนอบทความ โครงการวิจัยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมให้กลุ่มเป้าหมายโมเดลผักยกแคร่แก้จนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา

8. ผศ.นพดล โพชกำเหนิด นำเสนอบทความ การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องสลัดน้ำในใบเหลียงสำหรับเพิ่มคุณภาพในการผลิตเหลียงใบใหญ่ของชุมชนตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

9. อาจารย์บุญรัตน์ บุญรัศมี นำเสนอบทความ การจัดการเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแปรรูปน้ำส้มสายชูหมักตาลโตนดเพื่อสร้างขีดความสามารถและรายได้เพิ่มให้กับวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา

10. อาจารย์สุภาพร ชื่นชม นำเสนอบทความ ศักยภาพและการยอมรับเทคโนโลยีตู้ควบคุม อัตโนมัติในการผลิตผักของกลุ่มผู้สูงอายุและ ครัวเรือนยากจนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

11. อาจารย์ศิริพร อ่ำทอง นำเสนอบทความ การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา ในกระบวนการผลิตข้าว พื้นที่วิจัยจังหวัดลำปาง

12. ดร.วิชชุลฎา ถาวโรจน์ นำเสนอบทความ การปรับแต่งเทคโนโลยีการจัดการน้ำที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโพดหวาน ของกลุ่มเกษตรกร ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

————————————————————————–

💡นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์

1. ดร.นราศักดิ์ ศรียศ ผลงานวิจัย การประยุุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างขีดความสามารถและโอกาสทางสังคมในกลุ่มคนจนผู้ปลูกขิง บ้านฮ่องทราย ตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

2. ผศ.ดร.จันทิมา พรหมเกษ ผลงานวิจัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะสมและผลตอบแทนทางสังคมจาการลงทุน (SROI) กรณีศึกษา กรณีศึกษากลุ่มครัวเรือนยากจนจังหวัดมุกดาหาร

3. ดร.เครือวัลย์ มาลาศรี ผลงานวิจัย “รูปแบบการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มจากเศษเหลือทางการเกษตรในห่วงโซ่ธุรกิจเกษตร : กรณีศึกษาโมเดลแก้จน OM “”มันคุ้มค่า”” พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์”

4. ผศ.ดร.นพพร พัชรประกิติ ผลงานวิจัย กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับแก้ไขปัญหาความยากจนในเขตพื้นที่ยุทธศาสตร์

5. ผศ.ซุไฮดี สนิ ผลงานวิจัย “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับห่วงโซ่กลุ่มเป้าหมายประมงพื้นบ้านและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี”

6. ผศ.ตะวัน ตนยะแหละ ผลงานวิจัย การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้เพื่อเพิ่มความสามารถและโอกาสทางธุรกิจชุมชนภายใต้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

7. ผศ.ดร.ไกรศรี ศรีทัพไทย ผลงานวิจัย การเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับนวัตกรรมทางสังคม กรณีศึกษากลุ่มครัวเรือนยากจนจังหวัดมุกดาหาร

8. ผศ.สันติ ช่างเจรจา ผลงานวิจัย กลไกเครือข่ายการมีส่วนร่วมสร้างโอกาสทางสังคมของคนจนบนห่วงโซ่คุณค่าเกษตรวิถีชุมชนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

Share us